วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ข้อสอบวิชา การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ

1.ท่านสามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในองค์กรของท่านได้อย่างไรบอกกรอบความคิด ขั้นตอน ผลกระทบให้เห็นกระบวนการคิดของท่านทั้งระบบ

ตอบ ในองค์กรของข้าพเจ้า ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นอาจารย์ผู้สอนการที่จะนำระบบสารสนเทศมาประยุกต์ใช้เพื่อการเรียนการสอน เพิ่มประสิทธิภาพคือ จัดให้มี ศูนย์ข้อมูลสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาผู้เรียนให้มีการเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ จัดให้มีห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ จัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง นำไปสู่สังคมแห่งคุณธรรม และสังคมแห่งการเรียนการรู้
ในองค์กรสามารถนำระบบสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ คือ งานบุคลากร งานงบประมาณ งานธุรการ งานการเงินและบัญชี งานวิชาการ โดยมีกรอบความคิด ขั้นตอนและผลกระทบ ดังนี้กรอบความคิด

1. งานบุคลากร มีการจัดทำข้อมูลประวัติของครู ลูกจ้างประจำ คนงานทั่วไป ทำให้ทราบถึงสถิติของบุคลากรในแต่ละปี จำนวนบุคลากรตามแต่ละประเภทและหน่วยงาน เป็นต้น
2. งานงบประมาณ มีการนำระบบสารสนเทศมาใช้เพื่อประกอบการวางแผนการใช้จ่ายงบประมาณขององค์กร ทำให้ทราบถึงภาพรวมงบประมาณ เปรียบเทียบงบประมาณใช้ไปแต่ละปี สรุปจำนวนโครงการและกิจกรรม ติดตามแผนการดำเนินงาน
3. งานธุรการ เมื่อนำระบบสารสนเทศมาใช้ในงานธุรการ สามารถจัดทำเอกสารต่าง ๆและการควบคุมทรัพย์สินและพัสดุครุภัณฑ์แต่ละประเภทที่ได้มาง่ายต่อการตรวจสอบ เช่น สรุปจำนวนการสั่งซื้อ รายงานจำนวนพัสดุครุภัณฑ์คงเหลือแต่ละประเภท และมีการรับส่งหนังสือผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ตกับสำนักงาน
4. งานการเงินและบัญชี สามารถนำระบบสารสนเทศมาใช้เพื่อให้ทราบถึง รายรับรายจ่ายและการเปรียบเทียบแต่ละปี งบการเงินและการเปรียบเทียบแต่ละปี
5. งานวิชาการ นำระบบสารสนเทศมาจัดทำฐานข้อมูลของนักเรียน ในด้านจำนวนนักเรียนใหม่ประจำปีการศึกษา จำนวนนักเรียนทั้งหมด จำนวนนักเรียนที่ชำระเงินและค้างชำระ งานทะเบียนวัดผลนักเรียนที่สำเร็จการศึกษา เปรียบเทียบจำนวนนักเรียนแต่ละชั้นและแต่ละปีการศึกษา

ขั้นตอน

1. ประชุมคณะกรรมการของโรงเรียน เพื่อชี้แจงขอความเห็นชอบและร่วมกำหนดยุทธศาสตร์ในการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารวิทยาลัย
2. ประชุมครูและบุคลากรเพื่อชี้แจงให้ทราบถึงนโยบายและความสำคัญของการใช้ระบบสารสนเทศในการบริหารงานขององกรค์ในงานด้านต่าง ๆ
3. จัดทำแผนการใช้ระบบสารสนเทศในงานด้านต่าง ๆ เพื่อให้ทราบง่างานด้านใดจะใช้ระบบสารสนเทศแบบไหน เพื่อจะได้ทราบว่าในงานแต่ละด้านสามารถใช้ฐานข้อมูลเดียวกันได้บ้างหรือไม่ เพื่อลดการซ้ำซ้อนของการทำงาน
4. ออกแบบและจัดทำฐานข้อมูลของงานแต่ละด้านให้ครอบคลุมความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล
5. จัดให้มีการอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการใช้ระบบสารสนเทศของแต่ละหน่วยงาน
6. ทดสอบและลองใช้ระบบ เพื่อนำข้อบกพร่องไปปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นผลกระทบจากกรอบความคิดและขั้นตอน จะเห็นได้ว่าระบบสารสนเทศสามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการงานด้านต่างๆ ของวิทยาลัย เพื่อความเป็นระเบียบในการจัดเก็บข้อมูล เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการค้นหาและประมวลผล เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายได้รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ในแต่ละหน่วยงานที่ใช้ระบบสารสนเทศไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน ภาครัฐ หรือองกรค์ต่าง ๆ จะมีการทำงานซ้ำซ้อนกันหลายฝ่าย โดยในแต่ละฝ่ายมีการจัดทำฐานข้อมูลเป็นฝ่าย ๆ ไปไม่มีการเชื่อมโยงฐานข้อมูลพื้นฐานเข้าด้วยกัน เช่น ฐานข้อมูลชื่อ ที่อยู่ เพื่อลดการเก็บและกรอกข้อมูลที่ซ้ำซ้อน ควรมีการจัดทำฐานข้อมูลส่วนกลางเพื่อใช้ร่วมกัน จะเกิดประโยชน์และลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานลงไปได้มาก และต้องมีการอบรมเจ้าหน้าที่และบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านระบบสารสนเทศเป็นประจำเพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น

2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดทำแผนแม่บทด้านไอซีที (ICT) ฉบับที่ 2 ของรัฐบาลไทยจงสังเคราะห์ความรู้จากแผนแม่บทมาเป็นอรรถาธิบายให้แจ้งชัด

ตอบ เห็นด้วย กับแผนแม่บทด้าน ICT ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2552 – 2556) ของรัฐบาลไทย
แผนแม่บทด้าน ICT ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2552 – 2556) ของรัฐบาลไทย จะเป็นการเปิดประตูสู่โลกยุคใหม่ที่ไร้พรมแดน ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน การจัดสรรงบประมาณได้ตรงตามความต้องการของประชาชน ลดช่องว่างในการรับรู้ข่าวสาร การศึกษา ของประชาชน เพิ่มศักยภาพและช่องทางใหม่ ๆ ในการแข่งขันทางธุรกิจทั้งในอุตสาหกรรมทุกขนาดในอีก 5 ปีข้างหน้าทิศทางการพัฒนา ICT ของประเทศไทยจะไปทางใด อย่างไร รัฐบาลและกระทรวง ICT ต้องคำนึงถึงมาก ๆ คือ มีวิธีไหนที่แผนแม่บท ICT จะถูกนำไปใช้อย่างจริงจัง

ซึ่งมีวิสัยทัศน์หลัก คือ การมุ่งสร้างประเทศไทยให้เป็นสังคมอุดมปัญญา เป็นแผนที่มีความตั้งใจและมีเป้าหมายที่ดี โดยเปลี่ยนความสนใจจากการมุ่งสร้างและพัฒนาปัจจัยพื้นฐานทางเทคโนโลยีด้าน ICT พื้นฐานของประเทศมาเป็นการมุ่งให้ความสำคัญมากขึ้นกับการใช้งาน ICTอย่างมีธรรมาภิบาล มีการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารอย่างชาญฉลาด ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจกิจพอเพียง ประชาชนทุกระดับมีความรอบรู้สามารถเข้าถึงและใช้สารสนเทศอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม มีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน
ข้าพเจ้าเห็นว่า ร่างแผนแม่บททางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับที่ 2 ของประเทศไทย เพื่อประกาศใช้ระหว่าง

พ.ศ. 2552 – 2556 ซึ่งมีวิสัยทัศน์หลักคือ การมุ่งสร้างประเทศไทยให้เป็นสังคมอุดมปัญญา เป็นแผนที่มีความตั้งใจและมีเป้าหมายที่ดี โดยเปลี่ยนความสนใจ จากการมุ่งสร้างและพัฒนาปัจจัยพื้นฐานทางเทคโนโลยีด้าน ICT พื้นฐานของประเทศ มาเป็นการมุ่งให้ความสำคัญมากขึ้นกับการใช้งาน ICT อย่างมีธรรมภิบาล
อย่างไรก็ดีข้าพเจ้าเห็นว่า ร่างแผนแม่บทดังกล่าว ซึ่งต้องใช้เวลาและผ่านหลายขั้นตอนในช่วงของการพัฒนาแผน เกิดปัญหาการตกหล่นและความไม่สอดคล้อง ระหว่างความตั้งใจในตอนต้น(วิสัยทัศน์) กับผลลัพธ์ในบั้นปลาย(เป้าหมายทางยุทธศาสตร์) ดังที่ได้ชี้ให้เห็นในประเด็น
ปัญหาที่ 1
นอกจากนี้ ดังที่ได้ชี้ให้เห็นในประเด็นปัญหาที่ 2 ข้าพเจ้ามีความห่วงใยเกี่ยวกับแนวทางการวัดผลภายใต้ร่างแผนแม่บทนี้ เนื่องจากเป้าหมายการดำเนินการส่วนใหญ่ มีแนวโน้มของการมีมิติทางสังคมมากขึ้น ซึ่งต้องการการวัดผลเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ เพื่อสะท้อนความสอดคล้องระหว่างผลการดำเนินการกับเป้าหมาย อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การวัดผลการดำเนินการส่วนใหญ่ภายใต้ร่างดังกล่าว ยังมีแนวโน้มการวัดผลในเชิงปริมาณมากกว่าคุณภาพ
ประเด็นปัญหาข้างต้น เป็นประเด็นที่พบเห็นได้บ่อยครั้งในการจัดทำนโยบายของภาครัฐ ซึ่งต้องใช้เวลานานและมีความเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย การทบทวนใน 2 ประเด็นปัญหาข้างต้น ย่อมจักทำให้เกิดความสอดคล้องตลอดการดำเนินการนามแผน และทำให้การวัดผลสะท้อนภาพความสำเร็จที่แท้จริง ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของแผนการดำเนินการดีๆ ฉบับนี้ได้อย่างแน่นอน
จากประเด็นยุทธศาสตร์ ของแผนแม่บทด้านไอซีที (ICT) ฉบับที่ 2 พบว่ามีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและยกระดับความสามารถด้าน ICT เพื่อแข่งขันกับโลกที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนากำลังคนด้าน ICTและบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิต และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน คือ
- มีการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทั้งในส่วนภาคการศึกษา และบุคลากรในสาขาวิชาชีพอื่นๆ รวมไปจนถึงการสร้างความเสมอภาค ในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้ประชากรทุกส่วนในสังคม

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบริหารจัดการระบบ ICT ระดับชาติอย่างมีธรรมาภิบาล (National ICT Governance) คือ
- มีการจัดให้มีหน่วยงานกลางในการผลักดัน และขับเคลื่อนแผนแม่บทไปสู่การปฏิบัติ มีการนำระบบ ICT มาใช้ในกระบวนการบริหารงานงบประมาณ ทั้งในด้านการจัดทำ เสนองบประมาณ และกระบวนการพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อให้เกิดการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า รวมถึงการปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการบังคับใช้เพื่อให้เอื้อต่อการใช้ ICT และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คือ
- การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและการสื่อสารให้กระจายไปสู่ประชาชนทั่วประเทศ เพื่อการเข้าถึงเครือข่ายและเพิ่มประสิทธิภาพในการยกระดับการศึกษาและการเรียนรู้ของประชาชนตลอดชีวิต

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารและการบริการของภาครัฐ (e-Governance) คือ
- มีการกำหนดกรอบนโยบายที่เกี่ยวกับข้อมูลและการสื่อสารข้อมูล และกำหนดมาตรฐานที่จำเป็นให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อให้ทุกหน่วยงานสามารถเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้เกิดประโยชน์ในการทำงาน และลดกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อนของเจ้าหน้าที่

ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ICT เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศ คือ
- เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ ICT โดยเน้นงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน รวมทั้งการสนับสนุนด้านเงินทุน มาตรฐานสินค้าและบริการ ตลอดจนการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรม ICTทั้งภายในประเทศและจากต่างประเทศ

ยุทธศาสตร์ที่ 6 การใช้ ICT เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน คือ
- ส่งเสริมภาคการผลิตให้มีความสามารถยกระดับการนำ ICT มาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด สร้างความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่งเสริมการนำ ICT มาใช้ในภาคการผลิตและบริการโดยเฉพาะภาคการเกษตร การบริการด้านสุขภาพและการท่องเที่ยว ยกระดับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชนให้เข้าถึงและนำ ICT มาใช้ในการทำธุรกิจเพื่อเปิดการค้าสู่ตลาดบนโลกที่ไร้พรมแดน

3.ท่านเห็นด้วยหรือไม่เกี่ยวกับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย (กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550)เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด จงอภิปรายถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องให้เห็นเป็นรูปธรรม

ตอบ เห็นด้วย นั่นก็เพราะว่าทุกวันนี้คอมพิวเตอร์ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้น ซึ่งมีการใช้งานคอมพิวเตอร์โดยมิชอบโดยบุคคลใดๆ ก็ตามที่ส่งผลเสียต่อบุคคลอื่น รวมไปถึงการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือมีลักษณะลามกอนาจาร จึงควรต้องมีมาตรการขึ้นมาเพื่อเป็นการควบคุมนั่นเอง นับได้ว่าเป็นที่จับตามองและมีความสำคัญอย่างมากในทุกวงการ เพราะปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ภาครัฐ เอกชน คนทำงาน นิสิต นักศึกษา ก็ล้วนเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับพ.ร.บ.ฉบับนี้ และเตรียมพร้อมรับมือ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ และให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยของเราเป็นไปในทางที่สร้างสรรค์
เราต้องไม่ลืมว่า ในขณะนี้ มีมนุษย์ที่อยู่ในโลกกออนไลน์จำนวนมาก หากพิจารณาจากประชากรที่เข้าใช้อินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกกว่า ๑ พันล้านคน นั่นหมายความว่า เรากำลังเผชิญกับจำนวนของบุคคลบนอินเทอร์เน็ตจำนวนมากมาย ประกอบกับรูปแบบของการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีวิธีการหลากหลายมากขึ้น กระบวนการไล่จับแบบตำรวจไล่จับขโมยนั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่ยืนบนความยากมากขึ้น
กฎหมายฉบับนี้ เป็นกฎหมายที่บังคับกับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์หลังจากเกิดการกระทำความผิดเกิดขึ้น และเพื่อให้เกิดผลการทำงานที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องสร้างกฎหมายและนโยบายเพื่อสนับสนุนกฎหมายฉบับนี้เพิ่มเติม โดยเฉพาะในส่วนของการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเผ้าระวังสื่อออนไลน์ และแจ้งเหตุไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย
เพื่อลดปัญหาการด้านจำนวนและพฤติกรรมของการกระทำความผิด คงต้องเร่งสร้างกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมให้เกิดจริยธรรมที่ดีในการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งคงต้องรีบส่งสัญญาณไปยังกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงวัฒนธรรม ที่จะร่วมกันพัฒนากฎเกณฑ์และนโยบายเชิงรูปธรรมในการปลูกฝังจริยธรรมที่ดีในการใช้อินเทอร์เน็ต
เราคงต้องดำเนินการทั้งการจัดการปัญหาที่ต้นเหตุ คู่ขนานไปกับ การจัดการปัญหาที่ปลายเหตุไปพร้อมกัน
ถ้าไม่อย่างนั้นแล้ว เราคงได้เห็นผู้กระทำความผิดเต็มห้องขัง พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ได้ว่างเว้นจากการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด ทั้ง เว็บไซต์ลามกอนาจาร การดูหมิ่น หมิ่นประมาท การใช้ เข้าถึงข้อมูล ระบบ เครือข่ายโดยมิชอบ ซึ่งจะเพิ่มรูปแบบและวิธีการที่ซับซ้อนมากขึ้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น